Friday, January 27, 2012

กระบวนการที่จำเป็นสำหรับ Project Based ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร :PAR

การวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research :PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR)  นับเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมและชุมชนที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเป็นงานวิจัยที่เริ่มต้นจากชุมชน  สนับสนุนให้ชาวบ้านหรือตัวแทนในชุมชนเป็นคนสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับตนเองและชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้หาข้อมูล การศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ โดยการร่วมกันวางแผน และกำหนดการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการ พร้อมทั้งการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ และมีนักวิจัยภายนอก ทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้กระบวนการวิจัยบังเกิดผลสอดคล้องกับเป้าหมายอันนับได้ว่าการวิจัยได้ช่วยสร้างคุณลักษณะของการเรียนรู้แบบพหุภาคี พร้อมกับก่อให้เกิดผลพลอยได้ที่เป็นจิตสำนึกตระหนักในปัญหา หน้าที่ และร่วมกันแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม ทำงานร่วมกันทั้งแก้ปัญหา และพัฒนาอย่างต่อเนื่องยั่งยืนของชุมชน
ความหมายและคุณลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
สุภางค์ จันทวานิช  กล่าวไว้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยที่นำแนวคิด 2 ประการมาผสมผสานกันคือการปฏิบัติการ (Action) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่โครงการวิจัยจะต้องดำเนินการ และคำว่า การมีส่วนร่วม  (Participation) อันเป็นการมีส่วนเกี่ยวข้องของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมวิจัย ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาหรือสถานการณ์อันใดอันหนึ่ง แล้วร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินการจนกระทั่งสิ้นสุดการวิจัย โดยมีความหมายถึง วิธีการที่ให้ผู้ถูกวิจัยหรือชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมวิจัย นับตั้งแต่การระบุปัญหาของการดำเนินการ การช่วยให้ข้อมูลและการช่วยวิเคราะห์ข้อมูล  ตลอดจนช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมกิจกรรมนั้น ๆ  ซึ่งในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลจาการทำวิจัยทุกขั้นตอนชาวบ้านเป็นผู้ร่วมกำหนดปัญหาของชุมชนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา กระบวนการวิจัยจึงดำเนินไปในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างชาวบ้านกับผู้วิจัย เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นขั้น ๆ ส่วนกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลเป็นไปในเชิงการวิภาษ (Dialectic) ซึ่งชาวบ้านจะค่อย ๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง และด้วยวิธีการวิจัยเช่นนี้ ข้อมูลที่ได้จึงมีความชัดเจน สะท้อนความคิดอ่านตลอดจนนิสัยใจคอของชาวบ้าน สะท้อนความต้องการและแบบแผนในการดำเนินชีวิตของเขา  การวิจัยแบบนี้จึงเป็นวิธีการที่สนับสนุนให้ชาวบ้านหรือตัวแทนในชุมชนเป็นคนสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับตนเองและชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้หาข้อมูล การศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ โดยการร่วมกันวางแผน และกำหนดการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการ พร้อมทั้งการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ ประกอบกับการใช้ภูมิปัญญาและทุนที่มีอยู่ในชุมชน   การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้  นอกจากจะส่งผลดังที่ได้กล่าวไปแล้ว  ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาของผลงานวิจัยและกระบวนการวิจัยในตัวของมันเองอีกด้วย และอีกทางหนึ่งการวิจัยยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการวิจัย  ซึ่งสามารถเป็นตัวนำของการพัฒนาลงสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพอีกด้วย [1]
ขนิษฐา  กาญจนสินนท์  ให้ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไว้ว่า หมายถึง การวิจัยที่พยายามศึกษาชุมชน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา วางแผนและดำเนินการตามแผนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการดำเนินการประเมินผล โดยที่ทุกขึ้นตอนกดังกล่าวสมาชิกชุมชนเข้าร่วมด้วย อันเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ ไดพัฒนาตนเอง ในการทำงานพัฒนา [2]
หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
                โดยหลักการนั้น  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่ประกอบไปด้วยกระบวนการค้นคว้าทางสังคม  (Social Investigation)  การให้การศึกษา (Education) และการกระทำหรือการปฏิบัติการ (Action) เพื่อที่จะให้กลุ่มผู้ถูกกดขี่หรือด้วยโอกาสในสังคมได้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้และทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ที่ปรากฏอยู่  รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหลายฝ่าย อันเป็นการสร้างความรู้ให้กับสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในรายละเอียด  พันธุ์ทิพย์  รามสูต  อธิบายไว้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีหลักการสำคัญที่ให้ความเคารพต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนระบบการสร้างความรู้ ซึ่งแตกต่างไปจากของนักวิชาการ โดยประกอบด้วย [1]
                1) ปรับปรุงความสามารถและพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน  ด้วยการส่งเสริมยกระดับนักศึกษาและพัฒนาความเชื่อมั่นให้เกิดการวิเคราะห์/สังเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของเขาเอง  ซึ่งเป็นการนำเอาศักยภาพเหล่านี้มาใช้ประโยชน์
                2) ให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ชาวบ้าน ตลอดจนมีการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                3) สนใจปริทัศน์ของชาวบ้าน โดย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะช่วยเปิดเผยให้เห็นคำถามที่ตรงกับประเด็นปัญหา
4) การปลดปล่อยแนวความคิดเพื่อให้ชาวบ้านแบละคนยากจนด้อยโอกาสสามารถมองความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเสรี   มองสภาพการณ์และปัญหาของตนเอง วิเคราะห์วิจารณ์ ตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น    
               
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎฯ  กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา   ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไว้ดังนี้ [2]
1)  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งเข้ามาร่วมศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล  รวมทั้งการหาประเด็นปัญหาเชิงพัฒนา และวรรณกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนตน  มิใช่รอคอยแต่นักวิจัยและนักพัฒนามาดำเนินการให้ 
2) เพื่อให้ได้ข้อมูลความเป็นจริง แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม หรือมีความพอดีกับบริบทของชุมชนท้องถิ่นนั้น  
3)  เพื่อให้มีการขับเคลื่อนมวลสมาชิกเข้าด้วยกัน เป็นกระบวนการของผู้มีความรับผิดชอบร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกันและแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน
               
เป้าหมายและประโยชน์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
พันธุ์ทิพย์  รามสูต  กล่าวไว้ว่า เป้าหมายหลักของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้นมีปลายประการประกอบด้วย  [3]
                1)  ค้นหาความรู้พื้นบ้านที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย
                2)  ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรม
                3) สร้างดุลยภาพระหว่างวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิชาการและความรู้พื้นฐาน
                4) ยอมรับในความไม่เท่าเทียมกันของภาวะสังคมเศรษฐกิจ    
                ส่วนเป้าหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้น  อรุณรุ่ง บุณธนันตพงศ์ ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้ [4]
                1)  ชาวบ้าน ชุมชน ผู้ด้อยโอกาสจะตื่นตัว ได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง  มีความเชื่อมั่นในทางที่จะให้ความร่วมมือกันหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  เพื่อก่อประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและชุมชน       
                2) ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหา  ผู้ด้อยโอกาสมีโอกาสมากขึ้น การจัดสรรทรัพยากร ต่าง ๆ มีการกระจายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  รวมทั้งมีข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนในชุมชน
                3) มีวิจัยและพัฒนาได้เรียนรู้จากชุมชน ได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดแนวคิดในการพัฒนาตนเองของนักวิจัยและพัฒนาอย่างแท้จริง            4) ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที  เนื่องจากได้ลงมือทำกิจกรรมโดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เกิดการผนึกกำลังร่วมกัน โดยที่ประชาชนเป็นผู้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ตลอดจนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของผลงานที่โครงการที่ดำเนินการอยู่       

ระเบียบวิธีของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
                กิจกรรมของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในทัศนะของกมล สุดประเสริฐ   มีแตกต่างกันอยู่สองชุดซึ่งจำแนกได้ดังนี้  [5]
                1) กิจกรรมการวิจัยปฏิบัติการ หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ประสานงาน หรือผู้อำนวยการวิจัย  โดยเป็นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ของนักวิจัยตามโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชุมชนพื้นที่เป้าหมายของผู้วิจัยแต่ละคน  โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญของนักวิจัยคือการสร้างรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ  เป็นไปตามหลักการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถที่จะเผยแพร่แก่สังคมได้  โดยรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลนั้น จะต้องเป็นรูปแบบที่สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองเงินทองและก่อให้มีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้ผลตอบแทนจากการวิจัยค่อนข้างสูง 
                2) กิจกรรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน  หรือเรียกว่า กิจกรรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการของชุมชน เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาชุมชนของนักวิจัยที่ปฏิบัติการร่วมกันกับชุมชน  โดยนักวิจัยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน หรือเป็นผู้อำนวยการวิจัย ซึ่งมีบทบาทหลักในการเป็นผู้ช่วยเหลือในกระบวนการวิจัยตั้งแต่แรกเริ่ม และค่อย ๆ  ลดการช่วยเหลือลง และหวังว่าเมื่อดำเนินการวิจัยไปจนสิ้นสุดโครงการแล้ว ประชาชนจะมีความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกัน  และสร้างพลังที่พอเพียงกระทั่งสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้โดยลำพังอย่างมีประสิทธิภาพ   มิต้องรอรับการช่วยเหลือจากภายนอกอีก  

การมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย
                การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นวิธีการ (Means) สำคัญที่จัดว่าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่ง และเป็นสาระสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมรูปแบบ  มีสังกัปประการใดนั้น  สามารถพิจารณาได้จากทัศนะของทวีทอง  หงษ์วิวัฒน์   ซึ่งมีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมเป็นสิทธิของประชาชนต่อการตัดสินใจนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดสรร  (Allocation) และการใช้ประโยชน์ (Utilization)  ของทรัพยากรเพื่อการผลิต  ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้าร่วมในการวางแผน  เพื่อการกินดีอยู่ดี  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เข้าถึงซึ่งการพัฒนาให้คนจน ได้รับประโยชน์เพื่อการผลิต การบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะด้วย  [6]   และการมีส่วนร่วมคือการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจในระดับต่าง    ทางการจัดการบริการทางการเมือง เพื่อกำหนดความต้องการของชุมชนของตน การมีส่วนร่วมของประชาชนก่อให้เกิดกระบวนการ และโครงสร้างที่ประชาชนสามารถที่จะแสดงออก ซึ่งความต้องการของตน  การจัดลำดับความสำคัญ  การเข้าร่วมในการพัฒนา  และได้รับประโยชน์จากการพัฒนานั้นโดยเน้นการให้อำนาจในการตัดสินใจแก่ประชาชนในชนบท  และเป็นกระบวนการกระทำที่ประชาชนมีความสมัครใจเข้ามามีส่วนในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเพื่อประชาชนเอง  โดยให้ประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินใจเพื่อตนเอง  ทั้งนี้โดยมิใช่การกำหนดกรอบความคิดจากบุคคลภายนอก  ตามนิยามที่กล่าวถึงนี้ การมีส่วนร่วมทางของประชาชน ในฐานะสมาชิกของสังคม ไม่ว่าจะในบริบทของการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองหรือวัฒนธรรม  ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงพัฒนาการรับรู้  และภูมิปัญญาในการกำหนดชีวิตของตนอย่างเป็นตัวของตนเอง ในการจัดการควบคุมการใช้  และการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมตามความจำเป็นอย่างสมศักดิ์ศรี  นอกจากนี้การที่ประชาชนหรือชุมชนพัฒนาขีดความสามารถของตนในการจัดการควบคุมการใช้ทรัพยากร  ควบคุมการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่  เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพทางเศรษฐกิจและสังคม  ทำให้ประชาชนได้พัฒนาการรับรู้และภูมิปัญญาซึ่งแสดงออกในรูปของการตัดสินใจในการกำหนดชีวิตของตน  โดยภาครัฐจะต้องคืนอำนาจในการกำหนดการพัฒนาให้แก่ประชาชน  เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสในการแสดงความต้องการ แสวงหาทางเลือก  หรือเสนอข้อเรียกร้อง  เพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมของกลุ่ม  และเป็นผู้มีบทบาทหลักในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน  คือ  เป็นผู้กำหนดความจำเป็นพื้นฐานของชุมชน  และเป็นผู้ระดมทรัพยากรต่าง    เพื่อสนองตอบความจำเป็นพื้นฐานและบรรลุวัตถุประสงค์บางประการทางสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง 
              ในเชิงทฤษฎีแล้ว การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการพัฒนานั้น มีหลากหลายมิติ สามารถจำแนกออกได้เป็นมิติต่าง ๆ  ประกอบด้วย มิติแรก ร่วมศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งเป็นการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาชุมชน  วิเคราะห์ชุมชน  ค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชนร่วมกัน  และมีส่วนในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการด้วย  เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้เรียนรู้สภาพของชุมชน  วิถีชีวิต  สังคม  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำและประกอบการพิจารณาวางแผนงานวิจัย   มิติที่สอง  ร่วมวางแผน เป็นการวางแผนการพัฒนาหลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนแล้ว  และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัญหา  สาเหตุของปัญหาเรียบร้อยแล้ว  ก็นำมาอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ  การกำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน  ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่จะใช้เพื่อการวิจัย มิติที่สาม  ร่วมดำเนินการ  เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการพัฒนา  หรือเป็นขั้นตอนปฏิบัติการตามแผนการวิจัยที่ได้วางไว้  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน  โดยการสนับสนุนด้านเงินทุน  วัสดุอุปกรณ์  และแรงงาน  รวมทั้งการเข้าร่วมในการบริหารงาน  การประสานขอความช่วยเหลือจากภายนอกในกรณีที่มีความจำเป็น  มิติที่สี่  ร่วมรับผลประโยชน์  โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดการแจกจ่ายผลประโยชน์จากกิจกรรมการวิจัยในชุมชนในพื้นฐานที่เท่าเทียม  เสมอภาคกัน  และมิติที่ห้า   เป็นการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิจัย และผลของการพัฒนาจากการดำเนินการไปแล้วว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีปัญหาอุปสรรค  และข้อจำกัดอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง  ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันที และนำข้อผิดพลาดไปเป็นบทเรียนในการดำเนินการต่อไป  การเปิดให้ประชาชนหรือชาวบ้านที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการวิจัยนั้น นับได้ว่าเป็นคุณค่าโดยแท้ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบนี้  ซึ่งก่อให้เกิดรากฐานแห่งความยั่งยืนของการพัฒนา
                ไพโรจน์ ชลารักษ์ อธิบายไว้ว่า หากพิจารณาในรูปของกระบวนการวิจัย  การมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ  สามารถระบุได้ตามลำดับขั้นหรือกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้หลายขั้นตอน ซึ่งช่วยให้เห็นบทบาทหน้าที่ของผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละฝ่ายได้อย่างชัดเจน และในทางปฏิบัติแล้ว กระบวนการวิจัยก็ต้องดำเนินไปโดยความร่วมมือกับทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบสิ้นกระบวนการ ดังต่อไปนี้  [7]
                1) ขั้นการศึกษาบริบท ในขั้นนี้ นักวิจัยจะทำการกำหนดพื้นที่หรืออาณาบริเวณที่จะทำการศึกษาวิจัยเพื่อทำประชาคม   โดยมีนักพัฒนาประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ชาวบ้านเข้าร่วม และชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมการวิจัย 
                2) ขั้นกำหนดปัญหา ในขั้นตอนนี้  นักวิจัยสรุปคำถามหรือปัญหา รวมทั้งอธิบายเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจตรงกัน  ส่วนนักพัฒนาทำความเข้าใจประเด็นปัญหาละมองถึงผลของการวิจัยได้อย่างชัดเจน และครอบคลุมส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ และชาวบ้านได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น/ความต้องการ   ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว การวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพจริงที่เกิดขึ้นหรือสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาที่ประสงค์ได้นั้น ย่อมหลีกไม่พ้นการที่นักวิจัยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ดันดีกับประชาชนในชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการสร้างความตระหนักในบทบาทและความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย ขั้นการกำหนดปัญหาร่วมกับชาวบ้านในชุมชน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการให้เกิดผลอย่างแท้จริง  ก่อนจะเริ่มดำเนินงานในขั้นตอนอื่น
                3) ขั้นการวางแผนปฏิบัติงานวิจัย  ในขั้นตอนนี้   นักวิจัยจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานวิจัยให้ชัดเจน รวมทั้งระบุด้วยว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยแต่ละฝ่ายจะมีส่วนร่วมอะไร และอย่างไร เมื่อใดบ้าง พร้อมทั้งแผนการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการวิจัย   ส่วนนักพัฒนาจะเข้าร่วมปฏิบัติการวิจัยโดยติดตามผลการดำเนินงานวิจัยทุกขั้นตอน และคอยตรวจสอบผลของการดำเนินงานว่ามีสิ่งใดที่ผิดพลาด หรือไม่เป็นไปตามแผนหรือเป้าหมาย หรือมีสิ่งใดที่เกิดแทรกซ้อนขึ้นมาหรือไม่  โดยชาวบ้านนั้น จะเข้ามีส่วนร่วมลงมือในการปฏิบัติงานวิจัยตามแผน และตรวจสอบผลว่าพึงพอใจหรือไม่
                4)  ขั้นการติดตาม ตรวจสอบและปรับปรุง  รวมทั้งการแก้ไขระหว่างการปฏิบัติงานวิจัย  ในขั้นนี้ นักวิจัยที่ส่วนร่วมโดยการพิจารณาหาทางปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยอาศัยข้อมูลจากทุกฝ่าย แล้วนำมาทำการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย  โดยนักพัฒนาจะเข้ามีส่วนร่วมด้วยการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานวิจัยและประเมินว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่  เป็นต้น  และประชาชนหรือชาวบ้านจะเข้าร่วมด้วยการรับรู้ถึงการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานตามที่นักวิจัยกำหนด รวมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ที่แสดงถึงความพึงพอใจและความสำเร็จของการดำเนินการวิจัย
                5)  ขั้นการสรุปผลการวิจัย  ในขั้นตอนนี้ นักวิจัยจะทำการสรุปผลการวิจัย และเรียบเรียงเป็นรายงานการวิจัยออกเผยแพร่  นักพัฒนามีส่วนร่วมด้วยการรับทราบและตรวจสอบประเมินผลการวิจัยว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้าง  โดยชาวบ้านเข้ามีส่วนร่วมด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับผลของการวิจัยว่าพึงพอใจและได้ผลตามที่คาดหวังไว้หรือไม่  และแสดงความคิดเห็นอื่นประกอบข้อมูลด้วยว่าเพราะเหตุใด

ในแง่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้น สุภางค์                  จันทวานิช อธิบายไว้ว่า  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้น เป็นการผสมผสานความรู้เชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยของนักวิจัย และวัตถุประสงค์ของนักวิจัยและนักพัฒนา  ควบคู่ไปกับความต้องการความรู้ และประสบการณ์ของผู้ถูกวิจัย ดังนั้นการดำเนินการและผลของการวิจัยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย [9]  ซึ่งในการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้  มักจะประกอบไปด้วยบุคคล 3 ฝ่ายประกอบด้วย (1) บุคคลเป้าหมาย อาจเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคลเป้าหมาย หรือชุมชนที่จะทำการศึกษา ซึ่งถือว่าคนในชุมชนหรือกลุ่มนั้น  ซึ่งเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับตนเองดีที่สุด  (2) นักวิจัย  เป็นผู้แทนของนักวิชาการที่มีความสนใจในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นคนนอก   นักวิจัยนี้  เป็นฝ่ายผู้รู้และเชี่ยวชาญเรื่องแนวความคิด ทฤษฎีและระเบียบวิธีการวิจัย และ (3) นักพัฒนา  เป็นกลุ่มผู้มีความรู้และมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา ซึ่งมักจะเป็นผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลหรือองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งแม้ว่าเป็นคนนอก  แต่ก็นับว่าเป็นบุคคลที่ค่อนข้างจะใกล้ชิดกับบุคคลเป้าหมายของการพัฒนาหรือบุคคลกลุ่มแรกมากที่สุด  ซึ่งบางครั้งในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นักวิจัยและนักพัฒนาอาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้

Monday, January 23, 2012

คณะทำงานโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

กิจกรรมที่ ๑ การจัดการความรู้สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม


นางอัญญา  ทวีโคตร    หัวหน้าคณะทำงาน

นายกวิน  อ่อนแก้ว       เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 2 การจัดการความรู้เพื่อสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า


นายวิรัตน์  พรหมดี   หัวหน้าคณะทำงา


นางสาวเยาวตรี  ศรีหาวงศ์    เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 3 การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน

นายทิวากร  เหล่าลือชา   หัวหน้าคณะทำงาน
นางมยุรา  คำปาน           เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมท่ 4 การจัดการความรู้เรื่องชุมชนทอผ้า



นางอัญญา  ทวีโคตร       หัวหน้าคณะทำงาน
นายกวิน   อ่อนแก้ว          เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 5 การจัดการความรู้เพื่อจัดการท่องเที่ยวโดยสรุป


นายสุริยะ  พิศิษฐอรรถการ          หัวหน้าคณะทำงาน
นางสาวเชษฐธิดา  ทองสวัสดิ์    เลขานุการคณะทำงาน 

กิจกรรมที่ 6 การจัดการความรู้เพื่อร่วมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัย


นายอภิศักดิ์   วรรณไกรศรี          หัวหน้าคณะทำงาน


นางกัญญาภัค   สิงห์คำ              เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 7 การจัดการความรู้เพื่อดูแลผู้สูงอายุ



นายวิรัตน์  พรหมดี                     หัวหน้าคณะทำงาน


นางมยุรา  คำปาน                      เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 8 การพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นายชัยวิวัฒน์  วงศ์สวัสดิ์           หัวหน้าคณะทำงาน
นายพรวุฒิ  คำแก้ว                     เลขานุการคณะทำงาน


กิจกรรมที่ 9 การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์


นายสุริยะ  พิศิษฐอรรถการ        หัวหน้าคณะทำงาน


นางมยุรา  คำปาน                     เลขานุการคณะทำงาน

(ตามคำสั่งวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ที่ 004/2555 ลงวันที่ 12 มกราคม 2555)

ประชุมสรุปแนวทางการดำเนินงาน Project Base 55 ของ วชช.มห.

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จัดประชุมคณะทำงานโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ชุมชน (Project Based Team) ประจำปีงบประมาณ 2555 เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานโครงการ หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดำเนินการโดยสำนักบริหารฯ ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2555 ท่ผ่านมา โดยมี อ.วิรัตน์ พรหมดี ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี็




(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบเพิ่มเติมสำหรับโครงการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
(๒) กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงานตามโครงการ
      - องค์ประกอบสำคัญของโครงการได้แก่ กระบวนการ KM ,PAR ,NETWORKING,การเป็นวิทยากรกระบวนการ(Moderator)
(๓) พื้นที่ดำเนินการ
(๔) การปรับปรุงโครงการฉบับสมบูรณ์(กำหนดส่งภายในวันที่ 26 มกราคม 2555)

สรุปโดย...
สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์
23/1/2555

Sunday, January 22, 2012

การนำเสนอโครงการต่อสำนักบริหารฯ

การนำเสนอโครงการเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 20/1/55 ณ โรงแรม แม่น้ำ รามาดา กทม. โดย อ.ทิวากรและ อ.ชัยวิวัฒน์












การจัดการความรู้ (Knowlegde Management :KM)

กระบวนการ KM








โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน

ในปีงบประมาณ 2555 วิทยาลัยชุมชนได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน เป็นโครงการต่อเนื่องที่ดำเนินการมาตั้งปี 2554 โดยในปี 2555 มีการขยายพื้นที่ดำเนินการ ต่อเนื่องจากโครงการ "การจัดการความรู็เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม และโครงการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์

วัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ(๑) เพื่อยกระดับความสามารถของชุมชนในการจัดการความรู้บนศักยภาพพื้นที่ด้วยชุดหลักสูตรในการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตในฐานะชุมชนเป็นผู้รับประโยชน์และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(๒) เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและด้านคุณภาพชีวิตตามความต้องการของชุมชน

ผลผลิตของโครงการ (Output)ประชาชนและชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการยกระดับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานของศักยภาพที่มีและบริบทของชุมชน

ผลลัพธ์ของโครงการ (Outcome)ประชาชนและชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีทักษะ มัคุณลักษณะที่ดี และมีศักยภาพในการปรับปรุง พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของชุมชน

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้เสนอของบประมาณจากโครงการดังกล่าว เพื่อดำเนินการในส่วนของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จำนวน 9 โครงการ ได้แก่
(๑) พัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัย: (เด็ก)สามขัว....สามดี
(๒) ชุมชนทอผ้า (ตะหลุง...ฝ้ายเข็น เส้นใยเมืองมุก)
(๓) พัฒนาศักยภาพชุมชน (หนองข่า...ภูมิปัญญามุกดาหาร)
(๔) พัฒนาศักยภาพชุมชนเข้าสู่อาเซียน (บ้านพี่เมืองน้อง ปรองดองกัน)
(๕) เกษตรอินทรีย์ (บุงอุทัย...ครัวมุกดาหาร)
(๖) การจัดการความรู้เพื่อดูแผู้สูงอายุ (ฒ ไม่เฒ่า)
(๗) สร้างมูลค่าเพิ่มผ้ามักโคลน (ภูษาเปื้อนตม)
(๘) สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า (สายใยวัฒนธรรมชนเผ่า)
(๙) บริหารจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยว (ท่องผู้ไท...เที่ยวธรรม)

ช่วงการสัมมนาระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแม่น้ำรามาดา พลาซ่า กรงเทพมหนานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ประกอบด้วย ผอ.อัญญา อ.วิรัตนฺ อ.สุริยะ อ.อภิศักดิ์ อ.ชัยวิวัฒน์ อ.ทิวากร อ.กวิน อ.มยุรา พร้อมด้วยกรรมการสภา (อ.ไชยยง และ อ.นราวิชญ์) เพื่อนำเสนอโครงการให้สำนักฯพิจารณา แต่ต้องกลับมาพิจารณาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์อีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์ รวมงบประมาณ ที่เสนอขอทั้งสิ้น 6,600,000 บาท