Friday, June 22, 2012

พิธีฟ้อนผีหมอ

พิธีฟ้อนผีหมอ ชนเผ่ากะเลิง บ้านโนนสังข์ศรี ตำบลบ้านซ่ง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร

Wednesday, February 29, 2012

การอนุมัติโครงการ Project Base

สำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนได้แจ้งการจัดสรรงบประมาณ ตามโครงการ Project Base ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร แล้ว จำนวน ๗ โครงการ ได้แก่
(๑) การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ เสนอขอ ๖๐๐,๐๐๐ บาท อนุมัติ ๔๑๒,๙๘๐ บาท โอนแล้ว ๓๓๐,๓๘๔ บาท
(๒) การจัดการความรู้สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม โครงการต่อเนื่อง เสนอขอ ๖๐๐,๐๐๐ บาท อนุมัติ ๕๐๐,๐๐๐ บาท โอนแล้ว ๕๐๐,๐๐๐ บาท
(๓) การจัดการความรู้เพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชน เสนอขอ ๗๙๐,๐๐๐ บาท อนุมัติ ๔๖๓,๐๐๐ บาท โอนแล้ว ๓๗๐,๔๐๐ บาท
(๔) การจัดการความรู้เรื่องผ้าพื้นเมือง เสนอขอ ๘๐๐,๐๐๐ บาท อนุมัติ ๖๕๐,๐๐๐ บาท โอนแล้ว ๕๒๐,๐๐๐ บาท
(๕) การจัดการความรู้เพื่อสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมชุมชน เสนอขอ  ๗๐๐,๐๐๐ บาท อนุมัติ ๒๕๗,๗๐๐บาท โอนแล้ว ๒๐๖,๑๖๐ บาท
(๖) การจัดการความรู้เพื่อดูแลผู้สูงอายุ เสนอขอ ๖๕๐,๐๐๐ บาท อนุมัติ ๔๓๙,๗๐๐ บาท โอนแล้ว ๓๕๑,๗๖๐ บาท
(๗) การพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเข้าสู่อาเซียน เสนอขอ ๘๐๐,๐๐๐ บาท อนมุัติ ๑๒๔,๒๐๐ บาท โอนแล้ว ๑๒๔,๒๐๐ บาท

รวมวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้รับการจัดสรรงบประมาณรวม ๗ โครงการ งบประมาณ ๒,๘๔๗,๕๘๐ บาท โอนแล้ว ๒,๒๐๒,๙๐๔ บาท

ขอแจ้งให้คณะทำงานแต่ละโครงการได้ทราบ และดำเนินการ ดังนี้
(๑) ปรับโครงการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
(๒) จัดทำแผนปฏิบัติการตามโครงการ

ผู้อำนวยการจะจัดประชุมคณะทำงานอีกครั้ง แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อไป
สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์และกิจการพิเศษ
๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕

Wednesday, February 1, 2012

เครื่องมือศึกษาชุมชน

เครื่องมือที่จะนำไปใช้ในการจัดทำ Project Based ในปี ๒๕๕๕ ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร กระบวนการแรกคือ ขั้นการศึกษาชุมชน ประกอบด้วย ๗ อย่าง ได้แก่

(๑) แผนที่เดินดิน
(๒) ผังเครือญาติ
(๓) โครงสร้างองค์กรชุมชน

(๔) ระบบสุขภาพชุมชน
(๕) ปฏิทินชุมชน
(๖) ประวัติศาสตร์ชุมชน
(๗) ประวัติชีวิตบุคคลที่น่าสนใจ

เครื่องมือในการศึกษาชุมชนเหล่านี้ พัฒนามาจากเครื่องมือของนักมานุษยวิทยา ที่ใช้ในการศึกษาชุมชนเชิงลึก แต่ปรับประยุกต์ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น ซึ่งแต่ละชนิดมีวัตถุประสงค์และวิธีการดังต่อไปนี้

แผนที่เดินดิน
๑. เป้าหมายสำคัญของเครื่องมือ(๑) ทำให้เห็นภาพรวมของชุมชนครบถ้วนที่สุด
(๒) ทำให้ได้ข้อมูลมากในระยะสั้นที่สุด
(๓) ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือที่สุด เพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง

๒. วิธีการทำแผนที่เดินดิน
ในการทำแผนที่เดินนั้น ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่การเขียนแผนที่ทางกายภาพให้สมบูรณ์ครบถ้วนลงบนแผ่นกระดาษ แต่สำคัญที่การได้ไปดูให้เห็น และเข้าใจถึงความหมายและ "หน้าที่ทางสังคม" ของพื้นที่ทางกายภาพเหล่านั้น การเข้าใจความหมายทางสังคมของลักษณะทางกายภาพนี้

คำแนะนำ(หรือพูดคุยกับผู้เขียนผ่านfacebook ได้)
(๑) ไม่นั่งรถทำแผนที่ ควรลงเดินด้วยเท้า
(๒) อาจนำแผนที่เก่ามาใช้ เพื่อตรวจสอบรายละเอียด
(๓) ในกรณีทีมงานมีหลายคน ไม่ควคแยกกันเขียน แล้วมาต่อรวมกัน ควรเดินสำรวจร่วมกัน
(๔) ต้องสังเกตุและพูดคุยแลกเปลี่ยน
(๕) อาจนำผู้นำในชุมชนมาร่วมเดินสำรวจด้วย
(๖) เขียนข้อสังเกตที่พบ(จากการพูดคัย/แลกเปลี่ยน)

ผังเครือญาติ
เป้าหมายสำคัญของเครื่องมือ
(๑) เข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเครือญษติ อันเป็นความสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานของครอบครัวและชุมชน
(๒) รู็จักตัวบุคคลและความสัมพันธ์ทางสังคมในระยเวลาอันสั้น
(๓) ชาวนสร้างความสัมพันธ์อันดีและความสนิท คุ้นเคยระหว่างเจ้าหน้าที่กับชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว

วิธีทำผังเครือญาติ
สิ่งที่ต้องเรียนรู้ คือสัญลักษณ์มาตรฐานที่ใช้เป็นอย่างไร เนื่องจากเวลาเราทำผังเครือญาติแล้ว นำไปใส่ในระบบข้อมูล ทุกคนในระบบงานควรต้องอ่านสัญลักษณ์เหล่านี้ได้เหมือนกัน เข้าใจตรงกัน และสามารถเพิ่มเติมข้อมูลโดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐานเหล่านี้ได้

โครงสร้างองค์กรชุมชน
การศึกษาโครวสร้างองค์กรชุมชน ก็คือ การทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ต่างๆที่มีอยู่ในชุมชน แนวทางการศึกษาโครงสร้างองค์กรชุมชน อาจแบ่งออกเป็นสองขั้นตอนอคือ การทำความเข้าใจแบบแผนความสัมพันธ์ขององค์กรชุมชน และการจัดทำผังโครงสร้างองค์กรชุมชน โดยจะต้องทำความเข้าใจแบบแผนความสัมพันธ์ในชุมชนก่อนแล้วจึงนำมาเขียนเป็นโครงสร้างองค์กรชุมชน

การศึกษาแบบแผนความสัมพันธ์ขององค์กรชุมชน(๑) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
(๒) ความสัมพันธ์ทางสังคม
(๓) ความสัมพันธ์ทางการเมือง

ระบบสุขภาพชุมชน
เป้าหมายสำคัญของเครื่องมือ
(๑) เพื่อให้เห็นระบบการแพทย์ที่หลากหลายในชุมชน
(๒) สามารถเลือกระบบการแพทย์ที่มีความหลากหลายในชุมชนมาประยุกต์ใช้กับงานบริการด้านสาธารณสุขได้

Friday, January 27, 2012

กระบวนการที่จำเป็นสำหรับ Project Based ของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร :PAR

การวิจัยแบบมีส่วนร่วม (Participation Action Research :PAR)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR)  นับเป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาสังคมและชุมชนที่ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยเป็นงานวิจัยที่เริ่มต้นจากชุมชน  สนับสนุนให้ชาวบ้านหรือตัวแทนในชุมชนเป็นคนสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับตนเองและชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้หาข้อมูล การศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ โดยการร่วมกันวางแผน และกำหนดการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการ พร้อมทั้งการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ และมีนักวิจัยภายนอก ทำหน้าที่เป็นผู้เอื้ออำนวยให้กระบวนการวิจัยบังเกิดผลสอดคล้องกับเป้าหมายอันนับได้ว่าการวิจัยได้ช่วยสร้างคุณลักษณะของการเรียนรู้แบบพหุภาคี พร้อมกับก่อให้เกิดผลพลอยได้ที่เป็นจิตสำนึกตระหนักในปัญหา หน้าที่ และร่วมกันแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง  ส่งเสริมกิจกรรมกลุ่ม ทำงานร่วมกันทั้งแก้ปัญหา และพัฒนาอย่างต่อเนื่องยั่งยืนของชุมชน
ความหมายและคุณลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
สุภางค์ จันทวานิช  กล่าวไว้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นการวิจัยที่นำแนวคิด 2 ประการมาผสมผสานกันคือการปฏิบัติการ (Action) ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่โครงการวิจัยจะต้องดำเนินการ และคำว่า การมีส่วนร่วม  (Participation) อันเป็นการมีส่วนเกี่ยวข้องของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมวิจัย ในการวิเคราะห์สภาพปัญหาหรือสถานการณ์อันใดอันหนึ่ง แล้วร่วมในกระบวนการตัดสินใจและการดำเนินการจนกระทั่งสิ้นสุดการวิจัย โดยมีความหมายถึง วิธีการที่ให้ผู้ถูกวิจัยหรือชาวบ้าน เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัย เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมวิจัย นับตั้งแต่การระบุปัญหาของการดำเนินการ การช่วยให้ข้อมูลและการช่วยวิเคราะห์ข้อมูล  ตลอดจนช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหาหรือส่งเสริมกิจกรรมนั้น ๆ  ซึ่งในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ข้อมูลจาการทำวิจัยทุกขั้นตอนชาวบ้านเป็นผู้ร่วมกำหนดปัญหาของชุมชนและหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา กระบวนการวิจัยจึงดำเนินไปในลักษณะของการแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างชาวบ้านกับผู้วิจัย เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นขั้น ๆ ส่วนกระบวนการสังเคราะห์ข้อมูลเป็นไปในเชิงการวิภาษ (Dialectic) ซึ่งชาวบ้านจะค่อย ๆ เรียนรู้ด้วยตัวเอง และด้วยวิธีการวิจัยเช่นนี้ ข้อมูลที่ได้จึงมีความชัดเจน สะท้อนความคิดอ่านตลอดจนนิสัยใจคอของชาวบ้าน สะท้อนความต้องการและแบบแผนในการดำเนินชีวิตของเขา  การวิจัยแบบนี้จึงเป็นวิธีการที่สนับสนุนให้ชาวบ้านหรือตัวแทนในชุมชนเป็นคนสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้กับตนเองและชุมชน โดยการศึกษาเรียนรู้หาข้อมูล การศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหา รวมทั้งการแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ โดยการร่วมกันวางแผน และกำหนดการดำเนินงานตามแผนหรือโครงการ พร้อมทั้งการปฏิบัติตามแผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาได้ถูกต้องตรงตามความต้องการ ประกอบกับการใช้ภูมิปัญญาและทุนที่มีอยู่ในชุมชน   การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้  นอกจากจะส่งผลดังที่ได้กล่าวไปแล้ว  ยังช่วยให้เกิดการพัฒนาของผลงานวิจัยและกระบวนการวิจัยในตัวของมันเองอีกด้วย และอีกทางหนึ่งการวิจัยยังเป็นส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการวิจัย  ซึ่งสามารถเป็นตัวนำของการพัฒนาลงสู่ชุมชนท้องถิ่นอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพอีกด้วย [1]
ขนิษฐา  กาญจนสินนท์  ให้ความหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไว้ว่า หมายถึง การวิจัยที่พยายามศึกษาชุมชน โดยเน้นการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา วางแผนและดำเนินการตามแผนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งการดำเนินการประเมินผล โดยที่ทุกขึ้นตอนกดังกล่าวสมาชิกชุมชนเข้าร่วมด้วย อันเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้เกิดการเรียนรู้ ไดพัฒนาตนเอง ในการทำงานพัฒนา [2]
หลักการสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
                โดยหลักการนั้น  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เป็นรูปแบบของการวิจัยที่ประกอบไปด้วยกระบวนการค้นคว้าทางสังคม  (Social Investigation)  การให้การศึกษา (Education) และการกระทำหรือการปฏิบัติการ (Action) เพื่อที่จะให้กลุ่มผู้ถูกกดขี่หรือด้วยโอกาสในสังคมได้มีส่วนร่วมในการสร้างความรู้และทำความเข้าใจกับสภาพการณ์ที่ปรากฏอยู่  รวมทั้งเปิดพื้นที่ให้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างหลายฝ่าย อันเป็นการสร้างความรู้ให้กับสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม  ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปในรายละเอียด  พันธุ์ทิพย์  รามสูต  อธิบายไว้ว่า การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีหลักการสำคัญที่ให้ความเคารพต่อภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนระบบการสร้างความรู้ ซึ่งแตกต่างไปจากของนักวิชาการ โดยประกอบด้วย [1]
                1) ปรับปรุงความสามารถและพัฒนาศักยภาพของชาวบ้าน  ด้วยการส่งเสริมยกระดับนักศึกษาและพัฒนาความเชื่อมั่นให้เกิดการวิเคราะห์/สังเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของเขาเอง  ซึ่งเป็นการนำเอาศักยภาพเหล่านี้มาใช้ประโยชน์
                2) ให้ความรู้ที่เหมาะสมแก่ชาวบ้าน ตลอดจนมีการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
                3) สนใจปริทัศน์ของชาวบ้าน โดย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจะช่วยเปิดเผยให้เห็นคำถามที่ตรงกับประเด็นปัญหา
4) การปลดปล่อยแนวความคิดเพื่อให้ชาวบ้านแบละคนยากจนด้อยโอกาสสามารถมองความคิดเห็นของตนเองได้อย่างเสรี   มองสภาพการณ์และปัญหาของตนเอง วิเคราะห์วิจารณ์ ตรวจสอบสภาพข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น    
               
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
สำนักงานสภาสถาบันราชภัฎฯ  กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา   ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมไว้ดังนี้ [2]
1)  เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนท้องถิ่นแต่ละแห่งเข้ามาร่วมศึกษาค้นคว้า หาข้อมูล  รวมทั้งการหาประเด็นปัญหาเชิงพัฒนา และวรรณกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชนตน  มิใช่รอคอยแต่นักวิจัยและนักพัฒนามาดำเนินการให้ 
2) เพื่อให้ได้ข้อมูลความเป็นจริง แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม หรือมีความพอดีกับบริบทของชุมชนท้องถิ่นนั้น  
3)  เพื่อให้มีการขับเคลื่อนมวลสมาชิกเข้าด้วยกัน เป็นกระบวนการของผู้มีความรับผิดชอบร่วมกัน เรียนรู้ด้วยกันและแก้ไขปัญหาไปพร้อมกัน
               
เป้าหมายและประโยชน์ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
พันธุ์ทิพย์  รามสูต  กล่าวไว้ว่า เป้าหมายหลักของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้นมีปลายประการประกอบด้วย  [3]
                1)  ค้นหาความรู้พื้นบ้านที่เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลาย
                2)  ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างวัฒนธรรม
                3) สร้างดุลยภาพระหว่างวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิชาการและความรู้พื้นฐาน
                4) ยอมรับในความไม่เท่าเทียมกันของภาวะสังคมเศรษฐกิจ    
                ส่วนเป้าหมายของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้น  อรุณรุ่ง บุณธนันตพงศ์ ได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้ [4]
                1)  ชาวบ้าน ชุมชน ผู้ด้อยโอกาสจะตื่นตัว ได้รับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น สามารถคิดวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง  มีความเชื่อมั่นในทางที่จะให้ความร่วมมือกันหรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง  เพื่อก่อประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองและชุมชน       
                2) ประชาชนได้รับการแก้ไขปัญหา  ผู้ด้อยโอกาสมีโอกาสมากขึ้น การจัดสรรทรัพยากร ต่าง ๆ มีการกระจายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม  รวมทั้งมีข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อคนในชุมชน
                3) มีวิจัยและพัฒนาได้เรียนรู้จากชุมชน ได้ประสบการณ์การทำงานร่วมกับชุมชน อันก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และเกิดแนวคิดในการพัฒนาตนเองของนักวิจัยและพัฒนาอย่างแท้จริง            4) ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที  เนื่องจากได้ลงมือทำกิจกรรมโดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในชุมชน และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เกิดการผนึกกำลังร่วมกัน โดยที่ประชาชนเป็นผู้ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ ตลอดจนเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของผลงานที่โครงการที่ดำเนินการอยู่       

ระเบียบวิธีของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
                กิจกรรมของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในทัศนะของกมล สุดประเสริฐ   มีแตกต่างกันอยู่สองชุดซึ่งจำแนกได้ดังนี้  [5]
                1) กิจกรรมการวิจัยปฏิบัติการ หรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของผู้ประสานงาน หรือผู้อำนวยการวิจัย  โดยเป็นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ของนักวิจัยตามโครงการการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในชุมชนพื้นที่เป้าหมายของผู้วิจัยแต่ละคน  โดยจุดมุ่งหมายที่สำคัญของนักวิจัยคือการสร้างรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิภาพ  เป็นไปตามหลักการวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ และสามารถที่จะเผยแพร่แก่สังคมได้  โดยรูปแบบของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีประสิทธิผลนั้น จะต้องเป็นรูปแบบที่สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ้นเปลืองเงินทองและก่อให้มีค่าใช้จ่ายไม่มากนัก แต่ในเวลาเดียวกันก็ได้ผลตอบแทนจากการวิจัยค่อนข้างสูง 
                2) กิจกรรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชน  หรือเรียกว่า กิจกรรมการวิจัยเชิงปฏิบัติการของชุมชน เป็นกิจกรรมที่เกิดจากความพยายามในการแก้ไขปัญหาชุมชนของนักวิจัยที่ปฏิบัติการร่วมกันกับชุมชน  โดยนักวิจัยทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงาน หรือเป็นผู้อำนวยการวิจัย ซึ่งมีบทบาทหลักในการเป็นผู้ช่วยเหลือในกระบวนการวิจัยตั้งแต่แรกเริ่ม และค่อย ๆ  ลดการช่วยเหลือลง และหวังว่าเมื่อดำเนินการวิจัยไปจนสิ้นสุดโครงการแล้ว ประชาชนจะมีความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกัน  และสร้างพลังที่พอเพียงกระทั่งสามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนได้โดยลำพังอย่างมีประสิทธิภาพ   มิต้องรอรับการช่วยเหลือจากภายนอกอีก  

การมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย
                การมีส่วนร่วม (Participation) เป็นวิธีการ (Means) สำคัญที่จัดว่าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่ง และเป็นสาระสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมรูปแบบ  มีสังกัปประการใดนั้น  สามารถพิจารณาได้จากทัศนะของทวีทอง  หงษ์วิวัฒน์   ซึ่งมีความเห็นว่า การมีส่วนร่วมเป็นสิทธิของประชาชนต่อการตัดสินใจนโยบายที่เกี่ยวกับการจัดสรร  (Allocation) และการใช้ประโยชน์ (Utilization)  ของทรัพยากรเพื่อการผลิต  ซึ่งเป็นความจำเป็นที่ประชาชนต้องเข้าร่วมในการวางแผน  เพื่อการกินดีอยู่ดี  และสามารถตอบสนองต่อสิ่งที่เข้าถึงซึ่งการพัฒนาให้คนจน ได้รับประโยชน์เพื่อการผลิต การบริการ และสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะด้วย  [6]   และการมีส่วนร่วมคือการที่ประชาชนเข้าไปมีส่วนในการตัดสินใจในระดับต่าง    ทางการจัดการบริการทางการเมือง เพื่อกำหนดความต้องการของชุมชนของตน การมีส่วนร่วมของประชาชนก่อให้เกิดกระบวนการ และโครงสร้างที่ประชาชนสามารถที่จะแสดงออก ซึ่งความต้องการของตน  การจัดลำดับความสำคัญ  การเข้าร่วมในการพัฒนา  และได้รับประโยชน์จากการพัฒนานั้นโดยเน้นการให้อำนาจในการตัดสินใจแก่ประชาชนในชนบท  และเป็นกระบวนการกระทำที่ประชาชนมีความสมัครใจเข้ามามีส่วนในการกำหนดการเปลี่ยนแปลงเพื่อประชาชนเอง  โดยให้ประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินใจเพื่อตนเอง  ทั้งนี้โดยมิใช่การกำหนดกรอบความคิดจากบุคคลภายนอก  ตามนิยามที่กล่าวถึงนี้ การมีส่วนร่วมทางของประชาชน ในฐานะสมาชิกของสังคม ไม่ว่าจะในบริบทของการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองหรือวัฒนธรรม  ย่อมเป็นสิ่งที่แสดงออกให้เห็นถึงพัฒนาการรับรู้  และภูมิปัญญาในการกำหนดชีวิตของตนอย่างเป็นตัวของตนเอง ในการจัดการควบคุมการใช้  และการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมตามความจำเป็นอย่างสมศักดิ์ศรี  นอกจากนี้การที่ประชาชนหรือชุมชนพัฒนาขีดความสามารถของตนในการจัดการควบคุมการใช้ทรัพยากร  ควบคุมการกระจายทรัพยากรที่มีอยู่  เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพทางเศรษฐกิจและสังคม  ทำให้ประชาชนได้พัฒนาการรับรู้และภูมิปัญญาซึ่งแสดงออกในรูปของการตัดสินใจในการกำหนดชีวิตของตน  โดยภาครัฐจะต้องคืนอำนาจในการกำหนดการพัฒนาให้แก่ประชาชน  เพื่อให้ประชาชนโดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาสในสังคมได้มีโอกาสในการแสดงความต้องการ แสวงหาทางเลือก  หรือเสนอข้อเรียกร้อง  เพื่อปกป้องผลประโยชน์ร่วมของกลุ่ม  และเป็นผู้มีบทบาทหลักในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชน  คือ  เป็นผู้กำหนดความจำเป็นพื้นฐานของชุมชน  และเป็นผู้ระดมทรัพยากรต่าง    เพื่อสนองตอบความจำเป็นพื้นฐานและบรรลุวัตถุประสงค์บางประการทางสังคม  เศรษฐกิจ  การเมือง 
              ในเชิงทฤษฎีแล้ว การมีส่วนร่วมต่อการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการพัฒนานั้น มีหลากหลายมิติ สามารถจำแนกออกได้เป็นมิติต่าง ๆ  ประกอบด้วย มิติแรก ร่วมศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา ซึ่งเป็นการที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาชุมชน  วิเคราะห์ชุมชน  ค้นหาปัญหาและสาเหตุของปัญหาภายในชุมชนร่วมกัน  และมีส่วนในการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการด้วย  เป็นการกระตุ้นให้ประชาชนได้เรียนรู้สภาพของชุมชน  วิถีชีวิต  สังคม  ทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการจัดทำและประกอบการพิจารณาวางแผนงานวิจัย   มิติที่สอง  ร่วมวางแผน เป็นการวางแผนการพัฒนาหลังจากได้ข้อมูลเบื้องต้นของชุมชนแล้ว  และนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัญหา  สาเหตุของปัญหาเรียบร้อยแล้ว  ก็นำมาอภิปรายแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อกำหนดนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการ  การกำหนดวิธีการและแนวทางการดำเนินงาน  ตลอดจนกำหนดทรัพยากรและแหล่งทรัพยากรที่จะใช้เพื่อการวิจัย มิติที่สาม  ร่วมดำเนินการ  เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินการพัฒนา  หรือเป็นขั้นตอนปฏิบัติการตามแผนการวิจัยที่ได้วางไว้  ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน  โดยการสนับสนุนด้านเงินทุน  วัสดุอุปกรณ์  และแรงงาน  รวมทั้งการเข้าร่วมในการบริหารงาน  การประสานขอความช่วยเหลือจากภายนอกในกรณีที่มีความจำเป็น  มิติที่สี่  ร่วมรับผลประโยชน์  โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วมในการกำหนดการแจกจ่ายผลประโยชน์จากกิจกรรมการวิจัยในชุมชนในพื้นฐานที่เท่าเทียม  เสมอภาคกัน  และมิติที่ห้า   เป็นการมีส่วนร่วมติดตามประเมินผลการดำเนินงานวิจัย และผลของการพัฒนาจากการดำเนินการไปแล้วว่าสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ มีปัญหาอุปสรรค  และข้อจำกัดอย่างไร เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง  ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันที และนำข้อผิดพลาดไปเป็นบทเรียนในการดำเนินการต่อไป  การเปิดให้ประชาชนหรือชาวบ้านที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการวิจัยนั้น นับได้ว่าเป็นคุณค่าโดยแท้ของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบนี้  ซึ่งก่อให้เกิดรากฐานแห่งความยั่งยืนของการพัฒนา
                ไพโรจน์ ชลารักษ์ อธิบายไว้ว่า หากพิจารณาในรูปของกระบวนการวิจัย  การมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ  สามารถระบุได้ตามลำดับขั้นหรือกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมได้หลายขั้นตอน ซึ่งช่วยให้เห็นบทบาทหน้าที่ของผู้เข้าร่วมการวิจัยแต่ละฝ่ายได้อย่างชัดเจน และในทางปฏิบัติแล้ว กระบวนการวิจัยก็ต้องดำเนินไปโดยความร่วมมือกับทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบสิ้นกระบวนการ ดังต่อไปนี้  [7]
                1) ขั้นการศึกษาบริบท ในขั้นนี้ นักวิจัยจะทำการกำหนดพื้นที่หรืออาณาบริเวณที่จะทำการศึกษาวิจัยเพื่อทำประชาคม   โดยมีนักพัฒนาประชาสัมพันธ์ชักชวนให้ชาวบ้านเข้าร่วม และชาวบ้านเข้าร่วมกิจกรรมการวิจัย 
                2) ขั้นกำหนดปัญหา ในขั้นตอนนี้  นักวิจัยสรุปคำถามหรือปัญหา รวมทั้งอธิบายเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหาให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจตรงกัน  ส่วนนักพัฒนาทำความเข้าใจประเด็นปัญหาละมองถึงผลของการวิจัยได้อย่างชัดเจน และครอบคลุมส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ และชาวบ้านได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็น/ความต้องการ   ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว การวิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่สอดคล้องกับสภาพจริงที่เกิดขึ้นหรือสอดคล้องกับความต้องการพัฒนาที่ประสงค์ได้นั้น ย่อมหลีกไม่พ้นการที่นักวิจัยจะต้องสร้างความสัมพันธ์ดันดีกับประชาชนในชุมชนท้องถิ่น รวมถึงการสร้างความตระหนักในบทบาทและความสำคัญของการมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัย ขั้นการกำหนดปัญหาร่วมกับชาวบ้านในชุมชน จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการให้เกิดผลอย่างแท้จริง  ก่อนจะเริ่มดำเนินงานในขั้นตอนอื่น
                3) ขั้นการวางแผนปฏิบัติงานวิจัย  ในขั้นตอนนี้   นักวิจัยจัดทำขั้นตอนการปฏิบัติงานวิจัยให้ชัดเจน รวมทั้งระบุด้วยว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทำวิจัยแต่ละฝ่ายจะมีส่วนร่วมอะไร และอย่างไร เมื่อใดบ้าง พร้อมทั้งแผนการปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนวิธีการวิจัย   ส่วนนักพัฒนาจะเข้าร่วมปฏิบัติการวิจัยโดยติดตามผลการดำเนินงานวิจัยทุกขั้นตอน และคอยตรวจสอบผลของการดำเนินงานว่ามีสิ่งใดที่ผิดพลาด หรือไม่เป็นไปตามแผนหรือเป้าหมาย หรือมีสิ่งใดที่เกิดแทรกซ้อนขึ้นมาหรือไม่  โดยชาวบ้านนั้น จะเข้ามีส่วนร่วมลงมือในการปฏิบัติงานวิจัยตามแผน และตรวจสอบผลว่าพึงพอใจหรือไม่
                4)  ขั้นการติดตาม ตรวจสอบและปรับปรุง  รวมทั้งการแก้ไขระหว่างการปฏิบัติงานวิจัย  ในขั้นนี้ นักวิจัยที่ส่วนร่วมโดยการพิจารณาหาทางปรับปรุงแก้ไขการปฏิบัติการวิจัยแบบมีส่วนร่วม โดยอาศัยข้อมูลจากทุกฝ่าย แล้วนำมาทำการปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย  โดยนักพัฒนาจะเข้ามีส่วนร่วมด้วยการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานวิจัยและประเมินว่าผลที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่  เป็นต้น  และประชาชนหรือชาวบ้านจะเข้าร่วมด้วยการรับรู้ถึงการปรับเปลี่ยนการปฏิบัติงานตามที่นักวิจัยกำหนด รวมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) ที่แสดงถึงความพึงพอใจและความสำเร็จของการดำเนินการวิจัย
                5)  ขั้นการสรุปผลการวิจัย  ในขั้นตอนนี้ นักวิจัยจะทำการสรุปผลการวิจัย และเรียบเรียงเป็นรายงานการวิจัยออกเผยแพร่  นักพัฒนามีส่วนร่วมด้วยการรับทราบและตรวจสอบประเมินผลการวิจัยว่าประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด มีปัญหาและอุปสรรคอย่างไรบ้าง  โดยชาวบ้านเข้ามีส่วนร่วมด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับผลของการวิจัยว่าพึงพอใจและได้ผลตามที่คาดหวังไว้หรือไม่  และแสดงความคิดเห็นอื่นประกอบข้อมูลด้วยว่าเพราะเหตุใด

ในแง่บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้น สุภางค์                  จันทวานิช อธิบายไว้ว่า  การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนั้น เป็นการผสมผสานความรู้เชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีวิจัยของนักวิจัย และวัตถุประสงค์ของนักวิจัยและนักพัฒนา  ควบคู่ไปกับความต้องการความรู้ และประสบการณ์ของผู้ถูกวิจัย ดังนั้นการดำเนินการและผลของการวิจัยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย [9]  ซึ่งในการวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้  มักจะประกอบไปด้วยบุคคล 3 ฝ่ายประกอบด้วย (1) บุคคลเป้าหมาย อาจเป็นผู้แทนของกลุ่มบุคคลเป้าหมาย หรือชุมชนที่จะทำการศึกษา ซึ่งถือว่าคนในชุมชนหรือกลุ่มนั้น  ซึ่งเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลเกี่ยวข้องกับตนเองดีที่สุด  (2) นักวิจัย  เป็นผู้แทนของนักวิชาการที่มีความสนใจในการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นคนนอก   นักวิจัยนี้  เป็นฝ่ายผู้รู้และเชี่ยวชาญเรื่องแนวความคิด ทฤษฎีและระเบียบวิธีการวิจัย และ (3) นักพัฒนา  เป็นกลุ่มผู้มีความรู้และมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนา ซึ่งมักจะเป็นผู้แทนของฝ่ายรัฐบาลหรือองค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งแม้ว่าเป็นคนนอก  แต่ก็นับว่าเป็นบุคคลที่ค่อนข้างจะใกล้ชิดกับบุคคลเป้าหมายของการพัฒนาหรือบุคคลกลุ่มแรกมากที่สุด  ซึ่งบางครั้งในการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นักวิจัยและนักพัฒนาอาจเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้

Monday, January 23, 2012

คณะทำงานโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร

กิจกรรมที่ ๑ การจัดการความรู้สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม


นางอัญญา  ทวีโคตร    หัวหน้าคณะทำงาน

นายกวิน  อ่อนแก้ว       เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 2 การจัดการความรู้เพื่อสืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า


นายวิรัตน์  พรหมดี   หัวหน้าคณะทำงา


นางสาวเยาวตรี  ศรีหาวงศ์    เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 3 การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน

นายทิวากร  เหล่าลือชา   หัวหน้าคณะทำงาน
นางมยุรา  คำปาน           เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมท่ 4 การจัดการความรู้เรื่องชุมชนทอผ้า



นางอัญญา  ทวีโคตร       หัวหน้าคณะทำงาน
นายกวิน   อ่อนแก้ว          เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 5 การจัดการความรู้เพื่อจัดการท่องเที่ยวโดยสรุป


นายสุริยะ  พิศิษฐอรรถการ          หัวหน้าคณะทำงาน
นางสาวเชษฐธิดา  ทองสวัสดิ์    เลขานุการคณะทำงาน 

กิจกรรมที่ 6 การจัดการความรู้เพื่อร่วมพัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัย


นายอภิศักดิ์   วรรณไกรศรี          หัวหน้าคณะทำงาน


นางกัญญาภัค   สิงห์คำ              เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 7 การจัดการความรู้เพื่อดูแลผู้สูงอายุ



นายวิรัตน์  พรหมดี                     หัวหน้าคณะทำงาน


นางมยุรา  คำปาน                      เลขานุการคณะทำงาน

กิจกรรมที่ 8 การพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
นายชัยวิวัฒน์  วงศ์สวัสดิ์           หัวหน้าคณะทำงาน
นายพรวุฒิ  คำแก้ว                     เลขานุการคณะทำงาน


กิจกรรมที่ 9 การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์


นายสุริยะ  พิศิษฐอรรถการ        หัวหน้าคณะทำงาน


นางมยุรา  คำปาน                     เลขานุการคณะทำงาน

(ตามคำสั่งวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ที่ 004/2555 ลงวันที่ 12 มกราคม 2555)

ประชุมสรุปแนวทางการดำเนินงาน Project Base 55 ของ วชช.มห.

เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2555 วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จัดประชุมคณะทำงานโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ชุมชน (Project Based Team) ประจำปีงบประมาณ 2555 เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันในการดำเนินงานโครงการ หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดำเนินการโดยสำนักบริหารฯ ระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2555 ท่ผ่านมา โดยมี อ.วิรัตน์ พรหมดี ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี็




(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบเพิ่มเติมสำหรับโครงการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์
(๒) กำหนดกรอบแนวคิดในการดำเนินงานตามโครงการ
      - องค์ประกอบสำคัญของโครงการได้แก่ กระบวนการ KM ,PAR ,NETWORKING,การเป็นวิทยากรกระบวนการ(Moderator)
(๓) พื้นที่ดำเนินการ
(๔) การปรับปรุงโครงการฉบับสมบูรณ์(กำหนดส่งภายในวันที่ 26 มกราคม 2555)

สรุปโดย...
สุริยะ  พิศิษฐอรรถการ
หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์
23/1/2555

Sunday, January 22, 2012

การนำเสนอโครงการต่อสำนักบริหารฯ

การนำเสนอโครงการเพื่อพิจารณา เมื่อวันที่ 20/1/55 ณ โรงแรม แม่น้ำ รามาดา กทม. โดย อ.ทิวากรและ อ.ชัยวิวัฒน์












การจัดการความรู้ (Knowlegde Management :KM)

กระบวนการ KM








โครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน

ในปีงบประมาณ 2555 วิทยาลัยชุมชนได้รับงบประมาณในการดำเนินงานตามโครงการจัดการความรู้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน เป็นโครงการต่อเนื่องที่ดำเนินการมาตั้งปี 2554 โดยในปี 2555 มีการขยายพื้นที่ดำเนินการ ต่อเนื่องจากโครงการ "การจัดการความรู็เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม และโครงการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์

วัตถุประสงค์สำคัญของโครงการ(๑) เพื่อยกระดับความสามารถของชุมชนในการจัดการความรู้บนศักยภาพพื้นที่ด้วยชุดหลักสูตรในการพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิตในฐานะชุมชนเป็นผู้รับประโยชน์และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
(๒) เพื่อพัฒนาทักษะและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านอาชีพและด้านคุณภาพชีวิตตามความต้องการของชุมชน

ผลผลิตของโครงการ (Output)ประชาชนและชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ได้รับการยกระดับความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ เพื่อการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิตบนพื้นฐานของศักยภาพที่มีและบริบทของชุมชน

ผลลัพธ์ของโครงการ (Outcome)ประชาชนและชุมชนในพื้นที่เป้าหมายเกิดกระบวนการเรียนรู้ มีทักษะ มัคุณลักษณะที่ดี และมีศักยภาพในการปรับปรุง พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของชุมชน

วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ได้เสนอของบประมาณจากโครงการดังกล่าว เพื่อดำเนินการในส่วนของวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร จำนวน 9 โครงการ ได้แก่
(๑) พัฒนาศูนย์เด็กเล็กปฐมวัย: (เด็ก)สามขัว....สามดี
(๒) ชุมชนทอผ้า (ตะหลุง...ฝ้ายเข็น เส้นใยเมืองมุก)
(๓) พัฒนาศักยภาพชุมชน (หนองข่า...ภูมิปัญญามุกดาหาร)
(๔) พัฒนาศักยภาพชุมชนเข้าสู่อาเซียน (บ้านพี่เมืองน้อง ปรองดองกัน)
(๕) เกษตรอินทรีย์ (บุงอุทัย...ครัวมุกดาหาร)
(๖) การจัดการความรู้เพื่อดูแผู้สูงอายุ (ฒ ไม่เฒ่า)
(๗) สร้างมูลค่าเพิ่มผ้ามักโคลน (ภูษาเปื้อนตม)
(๘) สืบสานวัฒนธรรมชนเผ่า (สายใยวัฒนธรรมชนเผ่า)
(๙) บริหารจัดการหมู่บ้านท่องเที่ยว (ท่องผู้ไท...เที่ยวธรรม)

ช่วงการสัมมนาระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2555 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมแม่น้ำรามาดา พลาซ่า กรงเทพมหนานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาจากวิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร ประกอบด้วย ผอ.อัญญา อ.วิรัตนฺ อ.สุริยะ อ.อภิศักดิ์ อ.ชัยวิวัฒน์ อ.ทิวากร อ.กวิน อ.มยุรา พร้อมด้วยกรรมการสภา (อ.ไชยยง และ อ.นราวิชญ์) เพื่อนำเสนอโครงการให้สำนักฯพิจารณา แต่ต้องกลับมาพิจารณาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์อีกครั้งภายใน 1 สัปดาห์ รวมงบประมาณ ที่เสนอขอทั้งสิ้น 6,600,000 บาท